หิมะ

หิมะ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2002 เป็นผลงานชิ้นสำคัญของออร์ฮาน ปามุก นักเขียนรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมคนแรกของตุรกี ในปี 2006 ซึ่งปามุกได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม นิตยสาร ไทม์ ได้จัดให้เขาเป็นหนึ่งในร้อย “บุคคลผู้ขับเคลื่อนโลก”

มาร์โควัลโด หรือ ฤดูกาลในเมือง

เรื่องสั้นๆ 20 เรื่อง ของกรรมกรนามว่ามาร์โควัลโด ผู้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่แห่งหนึ่งในอิตาลี เมืองที่ทันสมัยเพราะเศรษฐกิจแต่แห้งแล้งและชวนห่อเหี่ยวใจแห่งนี้ เปลี่ยนโฉมหน้าไปภายใต้เสื้อคลุมแห่งฤดูกาลทั้งสี่ ทั้งฤดูใบไม้ผลิซึ่งนำความอุดมสมบูรณ์มาให้ ฤดูร้อนบางทีก็ร้อนเกินไปจนต้องหาทางคลายร้อน ฤดูใบไม้ร่วงส่งสัญญาณบอกให้เตรียมรับฤดูหนาว ฤดูหนาวที่มาพร้อมหิมะและโรครูมาตอยด์ ก่อนจะกลับเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิใหม่อีกครั้ง ถึงจะขาดแคลนเงินทองและธรรมชาติในชีวิตประจำวัน แต่มาร์โควัลโดกับภรรยาและลูกๆ ก็มีวิธีซื่อๆและสุจริต (เป็นส่วนใหญ่) มาพร้อมรับมือเสมอไม่ว่าจะเป็นฤดูใดก็ตามของปี

สุดชีวิต

หนังสือรวมเรื่องสั้นเล่มสุดท้ายของแอลิซ มันโร (Alice Munro) นักเขียนชาวแคนาดา ก่อนที่เธอจะประกาศเกษียณอายุจากการเขียนหนังสือในปี 2013 หนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยเรื่องสั้นทั้งหมด 14 เรื่อง โดยที่ 4 เรื่องสุดท้ายมันโรแยกมันออกมาเป็น “ปัจฉิมบท” และได้เขียนบอกผู้อ่านไว้ด้วยว่า “งานสี่ชิ้นสุดท้ายในหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เป็นเรื่องเล่าเสียทีเดียว งานเหล่านี้ประกอบกันเป็นหน่วยแยกออกมา เป็นอัตชีวประวัติเชิงอารมณ์ แม้ไม่อาจนับเป็นอัตชีวประวัติได้ทั้งหมดในเชิงข้อเท็จจริง ฉันเชื่อว่าทั้งหมดนี้คือสิ่งแรกและสิ่งสุดท้าย รวมถึงสิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดที่ฉันจะพูดเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง”

หากค่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง

หากค่ำคืนหนึ่งในฤดูหนาว นักเดินทางคนหนึ่ง (Se una notte d’inverno un viaggiatore) เป็นนวนิยายของอิตาโล คัลวีโน นักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1979 หลังจากที่เขาไม่ได้ตีพิมพ์วรรณกรรมออกมาสู่สาธารณชนระยะหนึ่ง อย่างไรก็ดี เมื่อนวนิยายเล่มนี้ตีพิมพ์ออกมา มันก็รั้งตําแหน่ง “นวนิยายหลังสมัยใหม่” อีกหนึ่งเล่มในตํานาน

รวมเรื่องคัดสรรจาก ข้อเขียนหลังมรณกรรมของนักประพันธ์ที่ยังมีชีวิตอยู่

ผลงานตีพิมพ์ชิ้นสุดท้ายก่อนที่มูซิลจะเสียชีวิตกระทันหันด้วยโรคเลือดออกในสมอง ข้อเขียนชิ้นเล็กๆ ที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นโมเสกเหล่านี้ เมื่อประกอบกับการจัดหมวดหมู่และวัตถุประสงค์ของมูซิลเองที่เขียนไว้ในคำนำ ทำให้มันเป็นเสมือนการวาดภาพ self-portrait ของมูซิล อันเป็นภาพที่สะท้อนสไตล์การเขียนอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเขา

ความรักและและปีศาจตัวอื่นๆ

ความรักและปีศาจตัวอื่นๆ เล่าเรื่องการปะทะกันระหว่างความรู้ทางวิทยาศาตร์และศาสนาจักร ผ่าน “อาการป่วยไข้” ของเซียร์วา มาเรีย เด็กหญิงผิวขาวที่มีผมยาวเหยียดสีทองแดง เซียร์วา มาเรีย เป็นลูกที่เกิดจากความเกลียดชังกันของพ่อผู้โศกเศร้าและแม่ที่หมดสภาพเพราะสิ่งเสพติด คำถามที่น่าสนใจคือ “ใครกันแน่ที่กำลังป่วยไข้?” และ “ป่วยด้วยโรคอะไร?”

รักเมื่อคราวห่าลง

ประเด็นที่สำคัญของนวนิยายเรื่องนี้คือความรัก การเปรียบเทียบความรักกับอหิวาตกโรคนั้นเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ชื่อเรื่องและคำบริภาษที่แม่ของโฟลเรนตีโนได้กล่าวต่อลูกของเธอ ทั้งนี้เนื่องจากอาการของคนที่ตกหลุมรักนั้นไม่ต่างจากคนที่เป็นโรคห่า นั่นคือ มีไข้ เพ้อไม่ได้สติ และอาจจะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ดังจะเห็นได้จากอาการของโฟลเรนตีโนเองที่ยังคงตกหลุมรักนางเอกคือเฟร์มีนา ดาซา แม้ว่าวันเวลาจะผ่านไปกว่าห้าทศวรรษก็ตาม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นวนิยายเล่มนี้แตกต่างจากเรื่องราวในนิยายรักน้ำเน่าก็คือการที่การ์เซีย มาร์เกซ ไม่ได้ยกย่องเชิดชูความรักให้กลายเป็นสิ่งประเสริฐหรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับคุณธรรม ในช่วงห้าทศวรรษที่เขารอ โฟลเรนตีโนได้หลับนอนกับหญิงมากหน้าหลายตา และบางครั้งความสัมพันธ์ชั่วครั้งชั่วคราวได้นำไปสู่จุดจบที่มืดมน